หลักกฎหมายกับความรู้สึก

Last updated: 26 เม.ย 2554  |  7403 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักกฎหมายกับความรู้สึก


                                                                          หลักกฎหมายกับความรู้สึก

               เวลาที่มีคดีความไม่ว่าจะเป็นคดีของท่านเอง    หรือคดีของผู้อื่น  ที่ตกเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ   คำพิพากษาของศาลบางคดีท่านอาจจะสงสัยหรืองุนงงว่าทำไมศาลตัดสินอย่างนี้     ขัดกับความรู้สึกของท่านหรือประชาชนส่วนใหญ่       ทำให้เกิดข้อถกเถียงหรือวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา         ความจริงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ  เพราะว่าศาลท่านพิจารณาคดีและตัดสินไปตามหลักกฎหมาย      ไม่ได้ตัดสินไปตามความรู้สึกของประชาชนทั่วไป         
              หลักกฎหมายมีอะไรบ้าง    ก็มีเช่นตัวบทกฎหมายต่างๆ  หรือแนวคำพิพากษาของศาลฏีกาที่มีมาก่อน        รวมทั้งการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อเสนอข้อเท็จจริงให้ศาลเห็น     แต่บุคคลทั่วไปมิได้ใช้หลักกฎหมายแต่ใช้หลักความรู้สึกหรือหลักศีลธรรม     มาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าคดีนี้โจทก์หรือจำเลยต้องชนะเพราะแบบนั้นแบบนี้       ซึ่งบางคดีก็เห็นถูกต้องแต่อีกหลายคดีก็เห็นไม่ตรงกับที่ศาลตัดสิน        เพราะใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกันนั่นเอง       
              
เพราะเหตุนี้คดีต่างๆ จึงต้องมีทนายความมาช่วยว่าหรือแก้ต่างให้     แต่ถ้าใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ในการตัดสินก็ไม่ต้องมีทนายความหรอกครับ       รวมทั้งไม่ต้องมีการเปิดสอนวิชากฎหมายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ  เพราะไอ้ความรู้สึกมันก็มีทุกคน      และเอาแน่นอนไม่ได้      เพราะทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็มีความรู้สึกที่เข้าข้างตนเองว่าตนต้องเป็นฝ่ายชนะ         คงหาความยุติธรรมไม่ได้         แต่ถึงใช้หลักกฎหมายยังไงความยุติธรรมที่ได้มันก็ไม่เต็มร้อยเปอร์เซนต์ไปซะทุกเรื่องหรอกครับ

                                                                           
โดย...ทนายกฤษณะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้