สินสมรส , สินส่วนตัว
คู่สามีภรรยาเมื่อได้อยู่กินสร้างครอบครัวขึ้นมา ย่อมมีทรัพย์สินเกิดขึ้น จากการทำมาหาได้ แต่ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อหย่ากัน นอกจากเรื่องการเลี้ยงดูบุตรแล้ว ปัญหาใหญ่คือเรื่องทรัพย์สินนี่แหละ
ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่เกิดหลังจดทะเบียน ทรัพย์สินนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส แม้จะเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยที่อีกฝ่านหนึ่งไม่ได้ออกแรงในการหาเงินมาซื้อทรัพย์สินนั้น เพราะกฎหมายถือว่าได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรส ฝ่ายที่ออกเงินฝ่ายเดียวจะเอาไว้คนเดียวไม่ได้ แต่ถ้าทรัพย์สินนั้น คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ใช้่เงินที่เก็บมาได้ก่อนจดทะเบียนสมรส ก็เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่มันพิสูจน์ยาก ฉะนั้นทรัพย์สินไหนซื้อมาใช้เงินก้อนใดจะต้องเก็บหลักฐานไว้ให้ดี จะได้ไม่ต้องมาถกเถียงกันว่า ทรัพย์สินนี้เป็นสินสมรส หรือเป็นสินส่วนตัว
ส่วนในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างอยู่กินด้วยกัน กฎหมายให้ใช้หลักการแบ่งในเรื่องกรรมสิทธิ์รวม แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ได้ออกแรงในการหาสิ่งนั้นมา ก็ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวม เช่น ภรรยาไม่ได้ทำงาน เป็นแม่บ้าน เลี้ยงดูบุตร ฝ่ายสามีทำงานหาเลี้ยงครอบครัวคนเดียว ฝ่ายสามีจะมาอ้างว่า อีกฝ่ายไม่ได้ออกแรงหาเงินมาเลย และไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นของฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียว ข้อกล่างอ้างของฝ่ายชายนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากมีคำพิพากษาฎีกา วินิจฉัยออกมาแล้วว่า ถึงแม้ฝ่ายหญิงจะไม่ได้ทำงาน แต่ก็อยู่บ้านเลี้ยงดูบุตร จึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ทรัพย์สินดังกล่างจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่าย
โดย..ทนายกฤษณะ