Last updated: 16 พ.ค. 2567 | 467 จำนวนผู้เข้าชม |
ขายฝาก
ขายฝากคือสัญญาซื้อขายซึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ที่นำมาขายฝาก ตกเป็นของผู้ซื้อทันที โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายอาจมาไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ภายในกำหนดระยะเวลาและจำนวนเงินที่ตกลงกัน หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ก็คือผู้ซื้อหาเงินมาไถ่ถอนไม่ทันตามเวลาที่ตกลงกัน หรือเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์นั้นได้ แต่ก็มีเจ้าหนี้หรือผู้ซื้อบางราย มีเมตตาธรรมขยายเวลาให้ ซึ่งระยะเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากนั้นมีความสำคัญมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ ชอบมาไถ่ในเวลาที่เกินกำหนด ผู้ซื้อเขาก็ไม่ยอม ผู้ขายฝากหลายราย นำคดีมาฟ้องศาล ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร เพราะมันเลยเวลสที่กำหนดไปแล้ว
ผมมีคำพิพากษาเรื่องหนึ่ง ที่เจ้าหนี้หัวหมอ มีเจตนาโกงลูกหนี้ โดยเจตนาจริงที่เจ้าหนี้และลูกหนี้แสดงต่อกันคือต้องการนำที่ดินมาให้เป็นประกันหนี้กู็ยืมที่ลูกหนี้กู้เงินจากเจ้าหนี้เท่านั้น โดยให้เจ้าหนี้เก็บโฉนดที่ดินไว้ แต่เมื่อถึงวันนัดเจ้าหนี้กลับแจ้งให้ลูกหนี้ไปจดทะเบียนขายฝากที่ดินให้สามีของเจ้าหนี้ ไม่งั้นจะไม่ให้เงินยืมแก่ลูกหนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวง เป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมขายฝากเป้นโมฆะ เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก ลูกหนี้ไม่ได้นำเงินมาไถ่ถอน สามีของเจ้าหนี้จึงยื่นฟ้องขับไล่ลูกหนี้ ให้ออกไปจากที่ดินดังกล่าว ซึ่งศาลก็มีคำพิพากษาให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมอำพราง สามีเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ เพราะนิติกรรมจริงๆ นั้นเป็นการนำที่ดินมาเป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 7039/2562
...ทนายกฤษณธ
15 ก.พ. 2567
13 ก.พ. 2567
12 พ.ค. 2567
15 ม.ค. 2567