Last updated: 15 ธ.ค. 2565 | 679 จำนวนผู้เข้าชม |
ทั้งขายฝาก และ จำนอง เป็นนิติกรรมที่ใช้กับอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ แต่มีส่วนที่แตกต่างกันในสาระสำคัญอยู่หลายประการ สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้
ขายฝาก เมื่อจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินแล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะโอนไปยังผู้ซื้อทันที แต่ต้องมีเงื่อนไขกำหนดเวลาในการซื้อกลับคืน โดยกำหนดเวลาต้องไม่ต่ำกว่่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โดยต้องกำหนดจำนวนเงินในการซื้อคืนไว้ด้วย ขายฝากต้องทำที่สำนักงานที่ดิน หรือที่กฎหมายบัญญัติว่าต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากทำกันเองก็เป็นโมฆะ ถ้าถึงเวลาซื้อคืนแล้วผู้ขายฝาก (เจ้าของเดิม) ยังหาเงินมาซื้อคืนไม่ได้ ต้องรีบติดต่อผู้ซื้อเพื่อขอขยายเวลาการซื้อกลับคืน ถ้าผู้ซื้อฝากยินยอมต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน อย่าตกลงด้วยวาจาโดยเด็ดขาด
จำนอง กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง แต่ถ้าผู้จำนองไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนองต้องยื่นฟ้อง ให้ผู้จำนองชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้รับจำนองก็มีอำนาจนำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ได้
13 ก.พ. 2567
12 พ.ค. 2567
13 พ.ค. 2567
15 ก.พ. 2567