Last updated: 21 ส.ค. 2566 | 3223 จำนวนผู้เข้าชม |
หากเราต้องการเช่าสถานที่เพื่อการค้าหรือเพื่ออยู่อาศัย แต่มาทราบภายหลังว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ เราจะทำอย่างไรสัญญาเช่าที่ทำกันไว้จะมีผลหรือไม่
กฎหมายที่เกี่ยวกับการเช่า ไม่ว่าจะเป้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นใด ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของทรัพย์เท่านั้น แสดงว่าผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของก็มีสิทธิ์ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าได้ แต่ผู้นั้นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าของทรัพย์สิน เช่น
ในกรณีเช่าช่วงเราไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเช่ากับเจ้าของทรัพย์ตัวจริง เราทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าเดิมก็ได้ แต่ต้องดูสัญญาเช่าเดิมว่าผู้เช่ามีสิทธิ์ให้เช่าช่วงหรือไม่ ถ้ามีสิทธิเราก็เช่าได้โดยที่ไม่ต้องกลัวเจ้าของทรัพย์ตัวจริงจะมาฟ้องขับไล่เรา
ในกรณีที่ผุ้ให้เช่าเป็นเพียงแค่ผู้มีสิทธิอาศัยหรือสิทธิเก็บกินในอสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธินั้นต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น ข้อนี้เราก็สามารถทำสัญญาเช่ากับผู้มีสิทธิดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำกับเจาของทรัพย์ตัวจริง
กรณีที่เจ้าของมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจทำสัญญาเช่า แต่ผู้รับมอบอำนาจต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจให้ดู
กรณ๊อื่นๆ เช่น ผู้ให้เช่าเป็นภริยา แต่ทรัพย์สินที่เช่าเป้นสินส่วนตัวของสามี แต่สามีไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่า เพียงแค่รับทราบโดยไม่ได้คัดค้่านหรือโต้แย้งแต่ประการใด บางครั้งก็เก็บค่าเช่าด้วยตนเอง กรณ๊นี้ต้องถือว่าภริยาเป็นตัวแทนของสามีโดยปริยายฝ่ายสามีจะอ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ให้เข่าไม่ได้
...ทนายกฤษณะ
13 ก.พ. 2567
15 ก.พ. 2567
13 พ.ค. 2567
12 พ.ค. 2567