แปลงหนี้เป็น..สัญญากู้เงิน

Last updated: 15 ม.ค. 2567  |  1449 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แปลงหนี้เป็น..สัญญากู้เงิน


                                                                  แปลงหนี้เป็น..สัญญากู้เงิน

                   กรณีท่านที่มีหนี้สินต่อกันไม่ว่าเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้  ต้องการที่จะเปลี่ยนประเภทของหนี้สิน  ก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนเป็นสัญญากู้ยืมเงินกัน   ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนรวมทั้งข้อดีข้อเสีย ดังนี้ 

                   1. ต้องมีหนี้เดิมและหนี้เดิมนั้น  ต้องเป็นหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องฟ้องร้องบังคับกันได้  ไม่เป็นโมฆะ  หากหนี้เดิมผิดกฎหมาย  หนี้ใหม่ก็ไม่เกิด

                  2. คู่กรณีหรือคู่สัญญาเดิมต้องตกลงสมัครใจที่จะแปลงหนี้ใหม่ทั้งสองฝ่าย  โดยกฎหมายระบุว่าต้องทำเป็นสัญญา  ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ  ทำด้วยวาจาก็สมบูรณ์  แต่ทางทีดีให้มีหลักฐานเป็นหนังสือดีทีี่สุุด  อาจจะทำในรูปของบันทึกข้อตกลง

                 3. ในสัญญาแปลงหนี้ใหม่นั้น  ต้องเจตนาให้หนี้เดิมระงับ  แล้วมาบังคับกันในหนี้ใหม่   ซึ่งนอกจากเปลี่ยนเป็นหนี้ใหม่ได้แล้ว  ยังสามารถแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนเจ้าหนี้  หรือเปลี่ยนลูกหนี้ได้อีกด้วย

                 4. หนี้ใหม่ที่นิยมทำกันมากที่สุดคือเปลี่ยนเป็นหนี้กู้ยืมเงินกัน  ข้อดีคือหนี้กู็ยืมมีอายุความ 10 ปี  ในขณะที่หนี้เดิมบางชนิดเช่นละเมิดมีอายุความแค่ 1 ปี   และยังคิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 15 ต่อปี  นับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จ  ในขณะที่หนี้เดิมคิดดอกเบี้ยได้แค่ร้อยละ 5 ต่อปีเท่านั้น   ข้อนี้เป็นข้อดีของหนี้ใหม่

                 5. หนี้ใหม่ก็ต้องทำตามรูปแบบของกฎหมาย เช่น หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน  ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ  และต้องปิดอากรสแตมป์ตามกฎหมายคือหมื่นละ 5 บาท  ข้อนี้เป็นข้อเสีย

                ประเด็นสำคัญก็มีเท่านี้ ที่หลือก็เป็นเรื่องปลีกย่อย สอบถามทนายความทั่วไปได้


                                                                                       ..ทนายยกฤษณะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้