เศกสรรค์ ใจดี
seksun001@hotmail.com
ต้องการนำบุตรมาอุปการะเลี้ยงดูโดยแบ่งวันกันระหว่างพ่อกับแม่ของบุตร (500 อ่าน)
6 ส.ค. 2554 21:14
เรียนท่านทนายความครับ
ผมมีปัญหาต้องการขอคำปรึกษาจากท่าน ขอความกรุณาช่วยตอบปัญหาของผมหน่อยนะครับคือว่า ผมมีปัญหาครอบครัวจนต้องหย่ากับภรรยาและผมซึ่งเป็นพ่อได้เคยตกลงกันว่าจะส่งเสียเลี้ยงดูลูกหลังการหย่าและให้บุตรอยู่กับแม่ ซึ่งตอนหย่าผมไม่รู้ว่าถ้าตกลงกันแบบนี้ผมจะมีสิทธิ์ที่จะให้บุตรมาอยู่กับผมเป็นบางวันได้หรือไม่ ขณะนี้บุตรสาวมีอายุ สามขวบสี่เดือน แม่ของลูกสาวผม อยู่กับตายายซึ่งเป็นพ่อแม่ของอดีตภรรยาผม ขณะนี้ผมออกมาอยู่เพียงลำพัง ผมกับอดีตภรรยารับราชการครูทั้งคู่ อดีตภรรยาต้องเลี่้ยงดูพ่อแม่ของเขาด้วย และมีหลานมาฝากเลี้่ยงอีกหนึ่งคน และส่งเงินมาเป็นค่าเลี้ยงดูแทน แต่พ่อแม่ของอดีตภรรยายังทำนาและมีรายได้อยู่ ส่วนผมผมทำตามข้อตกลงทุกอย่าง ตอนหย่าผมให้รถยนต์ไป 1 คันประมาณ สี่แสนหน้าหมื่นบาท และให้เงินไปอีก หกแสนบาทเพื่อเป็นค่าเลี้ยงดูลูกผม ซึ่งตอนตกลงกันก็บอกแค่ว่าจะส่งเสียเดือนละสามพันบาท แต่ผมก็ให้ไปเพราะผมคิดว่านั่นคือลูกผม ไม่จำเป็นต้องมากำหนดว่าผมจะให้เท่าไร เหตุการณผ่านมาเกือบปี ทุกวันนี้ผมก็ซื้อนม เสื้อผ้า ของเล่นไปให้ลูกผมทุกสัปดาห์ ทำตามปกติเหมือนที่เคยอยู่กันมา แต่เขาบอกให้ผมมาหาลูกได้แค่ตอนเช้าพาลูกไปส่งโรงเรียน ตอนเย็นก็ไม่ให้ไปรับลูก เสาร์- อาทิตย์ก็ไม่ให้รับลูกพาไปเที่ยว เขาบอกว่ากลัวลูกจะสับสน ทั้งพ่อแม่อดีตภรรยา เขาก็เป็นคนยุยงไม่ให้ผมเข้าไปหาลูก บอกว่าผมเข้าไปซื้อของเข้าไปให้ลูก ทำให้หลานเขาที่ลูกชายเขาเอามาฝากเลี้ยงไว้ ซึ่งอายุประมาณห้าขวบ แย่งของกับลูกสาวผมแล้วเกิดความวุ่นวาย แม่ของลูกผมก็ไล่ผมให้ออกไปจากบ้านไม่ให้ไปหาลูก กรณีเช่นนี้ถ้าผมต้องการจะให้ลูกได้มาอยู่กับผมบ้างเป็นบางวันโดยความสมัครใจของลูกผม ผมจะมีวิธีการอย่างไรบ้างครับ ต้องฟ้องร้องไหม หรือให้เขามาตกลงกับผมใหม่ หรือใช้คำสั่งศาล ให้ผมมีสิทธิที่จะอยู่กับลูกได้บ้างบางวัน หรือพาลูกไปเที่ยวได้บ้าง รบกวนขอคำปรึกษาเพื่อเป็นแนวทางด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
101.51.3.133
เศกสรรค์ ใจดี
ผู้เยี่ยมชม
seksun001@hotmail.com
ทนายกฤษณะ
krish1936@gmail.com
7 ส.ค. 2554 15:39 #1
คุณตกลงกันตอนหย่าให้ลูกอยู่กับภรรยา แสดงว่าอำนาจปกครองบุตรอยู่กับภรรยาฝ่ายเดียว แต่ยังมีสิทธิในการเลี้ยงดูลูก ถ้าภรรยากีดกันแบบนี้ ฟ้องศาลก็ได้ครับ แล้วให้ศาลช่วยไกล่เกลี่ยให้คุณมีสิทธิพาลูกไปเที่ยวไหนได้
124.121.197.99
ทนายกฤษณะ
ผู้เยี่ยมชม
krish1936@gmail.com